1 เพื่อให้นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติ
2 เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านวิชาการ และด้านการวิจัยและประสบการณ์ด้านวิชาการ และด้านการวิจัย
3 เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม กับหน่วยงานต่างๆ
4 เพื่อนำผลงานวิจัยและความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมต่อไป
5 เพื่อเป็นเวทีในการ แสดงความสามารถของนักเรียน นักศึกษาในการแสดงความสามารถทางด้าน การดนตรี ด้านศิลปะ ด้านวิชาการ
1 กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมโครงการ
1.1 ผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน
1. ผลงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการศึกษาอิสระของผู้นำเสนอผลงานได้รับการเผยแพร่
2. เกิดแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างผู้วิจัย
4. นักศึกษาที่เข้าร่วมประชุมเสนอผลงานได้รับการพัฒนาทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมสัมมนา
5. ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการสนับสนุนให้มีการพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ
1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน
2. พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและภายในสถาบัน อย่างน้อย 2 ท่าน และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะเป็น Double-blind peer review
3. พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมและที่จะรวบรวมเป็น Proceedings
4. พิจารณามอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตรให้แก่ผู้ที่เสนอผลงานที่มีผลงานในระดับดีเด่น ดี และชมเชย โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในร่วมประเมินผลงานที่นำเสนอทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์
5 เดือน [ม.ค.-พ.ค. 2567]
เปิดรับลงทะเบียน และ เปิดรับบทความฉบับเต็ม
วันสุดท้ายของการรับบทความฉบับเต็ม
แจ้งผลการตรวจพิจารณาบทความฉบับเต็ม
วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียน*
วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์หลังการปรับปรุงแก้ไข
วันจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 10
*วิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์งดรับลงทะเบียนหน้างาน
1. การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) นำเสนอด้วย Power Point โดยใช้เวลาในการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที
2. การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนด และ ผู้นำเสนอประจำที่ โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนด โดยที่ผลงานวิจัยดังกล่าวจะต้อง
1. เป็นผลงานที่ยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน
2. มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้
1) สังคมศาสตร์ ประกอบด้วย สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยา สังคม ปัญหาสังคม สังคมศาสตร์ พัฒนา สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) มนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม
ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4) วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรมศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ประเภทของผู้นำเสนอผลงานวิจัย
1) ผลงานวิจัย บทความวิชาการ ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ที่สนใจ
2) ผลงานวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นความอิสระระดับอุดมศึกษาของนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ที่ไม่เคยนำเสนอในการประชุมเสนอผลงานวิจัยที่ใดมาก่อน ประเภทของการนำเสนอผลงาน
1) นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) ด้วย Power Point โดยใช้เวลานำเสนอเรื่องละไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที
2) นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนด และผู้นำเสนอประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดเพื่อนำเสนอผลงาน